โปรแกรม AMOS

โปรแกรม AMOS (Analysis of Moment Structure)  
ปัจจุบันมีโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติหลายโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง เช่น Lisrel, Mplus, EQS, SAS, PLS และ อย่างไรก็ตามโปรแกรมวิเคราะห์ทาง สถิติที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลายและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ โปรแกรม AMOS (Analysis of Moment Structure)  
โปรแกรม AMOS เป็น โปรแกรม ที่ใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและปัจจัยในลักษณะเดียวกันกับ Multiple regression, Path Analysis และ Factor analysis และโปรแกรมดังกล่าวยังมีลักษณะการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับ โปรแกรม Lisrel แต่เมื่อเปรียบเทียบความยากง่ายในการใช้งานแล้ว โปรแกรม AMOS จะให้ความสะดวกแก่นักวิจัย ในการวิเคราะห์มากกว่า เนื่องจากการปรับโมเดลสมการโครงสร้างและการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Error Term ในโมเดลทางเลือก สามารถเชื่อมโยงค่า Error Term  ต่างแมทริก โดยการใช้แผนภาพเชื่อมโยงได้ง่ายกว่า การใช้โปรแกรม Lisrel  ที่ต้องใช้การเขียนคําสั่งในการปรับโมเดลทางเลือกเชื่อมโยงค่า Error Term ต่างแมทริกซ์  ซึ่งเป็นการยุ่งยากสําหรับนักวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัยมือใหมที่ยังไม่มีความชํานาญในการเขียนคําสั่งในการวิเคราะห์ ข้อมูล  
AMOS (Analysis of Moment Structures) - เป็นโปรแกรมเสริม ที่ทำให้สร้างแบบจำลองของสมการโครงสร้างและโครงสร้างความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์อิทธิพล, และมีความสามารถพื้นฐานเพิ่มเติม เช่น การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น, ANOVA และ ANCOVA การวาดแบบตัวอย่างโดยใช้กราฟฟิก AMOS เพื่อให้เห็นแผนภูมิเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้อย่างชัดเจนขึ้นมากกว่าการเขียนเป็นสมการทางคณิตศาสตร์
          การใช้ โปรแกรม AMOS จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยมาแก้ปัญหาในลักษณะเด่น 5 ประการคือ
1.      พื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลและการประมาณค่าพารามิเตอร์ โดยใช้ทฤษฎีทางสถิติวิธี maximum likelihood statistical method และ ML เพื่อแก้ปัญหาข้อตกลงเบื้องต้นในส่วนของลักษณะการแจกแจงของตัวแปร และค่าพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่า
2.      ลักษณะของตัวแบบ มี 2 ลักษณะคือ ตัวแบบการวัด เพื่อแก้ปัญหาความคลาดเคลื่อนในการวัด โดยใช้หลักการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อยืนยัน หรือการวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบในการประมาณค่าตัวแปรแฝงตามตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปรที่สังเกตได้กับตัวแปรแฝง แล้วใช้ตัวแปรแฝงไปวิเคราะห์ข้อมูล และตัวแบบสมการโครงสร้างจะครอบคลุมลักษณะความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นทุกรูปแบบ จึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ไม่ว่าเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ตัวแบบแบบอิทธิพลทางเดียว หรือแบบอิทธิพลย้อนกลับ
3.      สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางอิทธิพลในตัวแบบหรือตรวจสอบความคลาดเคลื่อนในการวัดของตัวแปร โดยการตรวจสอบความสัมพันธ์โครงสร้างระหว่างตัวแปรตามทฤษฎีได้หลายวิธี โดยใช้ ไคสแควร์ ดัชนีวัดความพอเหมาะพอดี หรือดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(goodness of fit index = GFI) รากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือ(root of mean square residuals = RMR) เป็นต้น
4.      ข้อจำกัดในเรื่องข้อตกลงเบื้องต้นมีน้อยกว่าทำให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิม โดยเฉพาะข้อที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อน และตัวแปรที่วัดได้หรือสังเกตได้ต้องไม่มีความคลาดเคลื่อน ข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่เป็นไปตามข้อตกลงนี้
5.      การเตรียมข้อมูล การสร้างข้อมูลนผ็้้ร็น กระทำได้แม้ข้อมูลจะเป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบเรียงอันดับ หรือมีตัวแปรเซ็นเซอร์ทั้งบนและล่าง ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีการแจกแจงไม่เป็นแบบปกติ ข้อมูลมีความถี่มากๆที่ค่าใดค่าหนึ่ง


ที่มา : https://edu.tsu.ac.th/major/administration/Data/amos_lisrel.doc

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรแกรมลิสเรล (LISREL program)

โปรแกรม SPSS